Pages

Sunday, September 27, 2020

วิกฤตขัดแย้งแก้รัฐธรรมนูญ...ซ้ำเติมฟื้นเศรษฐกิจไทย - โพสต์ทูเดย์

kuyupkali.blogspot.com

วิกฤตขัดแย้งแก้รัฐธรรมนูญ...ซ้ำเติมฟื้นเศรษฐกิจไทย

วันที่ 28 ก.ย. 2563 เวลา 08:40 น.

คอลัมน์ เศรษฐกิจรอบทิศ

เมื่อค่ำวันพฤหัสบดีที่ผ่านมามีการประชุมรัฐสภาเกี่ยวกับการแก้รัฐธรรมนูญซึ่งมีถึง 6 ญัตติเป็นการประชุมที่ดุเดือดมีการแบ่งออกเป็นกลุ่มที่ต้องการรุกแก้มาตราที่มาของส.ว. และอำนาจหน้าที่โดยเฉพาะการมีสิทธิ์โหวตนายกรัฐมนตรี ขณะที่อีกกลุ่มส่วนใหญ่เป็นซีกรัฐบาลและส.ว.ต้องการรักษาฐานที่มั่นและอยากได้รัฐธรรมนูญที่ยังคงให้ผู้มีอำนาจยังคงอยู่ต่อไปนาน ๆ  เป็นที่ทราบกันดีว่าการเมืองทั้งของไทยและทุกประเทศเป็นเรื่องของการแข่งขัน-ช่วงชิง-แบ่งปันเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจและผลประโยชน์ ในระบอบประชาธิปไตยต้องหาพวกเยอะ ๆ ไม่มีเพื่อน ไม่มีศัตรูที่ถาวร อาศัยประชาชนเป็นฐานสนับสนุนผ่านการเลือกตั้งพอหย่อนบัตรเสร็จก็หมดหน้าที่ทำอะไรไม่ได้ไปรอดูหน้าทีวีหรือโซเซียลมีเดียเป็นข้อเท็จจริงที่ต้องยอมรับ

การผลิกโพลของรัฐสภาที่ตกลงกันไม่ได้เกี่ยวกับการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญซึ่งเห็นไม่ตรงกันนำไปสู่การตั้ง “กรรมธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญก่อนรับหลักการ” แต่ฝ่ายค้านไม่เล่นด้วยเห็นว่าเป็นการเตะถ่วงซื้อเวลาจึงม่เสนอชื่อส.ส.เข้าร่วมเพราะด้วยจำนวนก็แพ้โหวตอยู่ดี ท่ามกลางกระแสกดดันกลุ่มนอกสภาที่ผ่านมามีการยกระดับทั้งจำนวนคนที่เข้าร่วมและเพิ่มข้อเรียกร้องเกินเลยจากสัญลักษณ์ “ชู 3 นิ้ว” ไปมากจนดูว่าจะหาทางลงตัวได้อย่างไร    ทำให้การแก้ปัญหากำลังเข้าสู่โหมดทางตัน ข้อวิตกกังวลคือปัญหาการเมืองนอกสภาแบ่งแยกกลุ่มเห็นด้วยและเห็นต่างกำลังก่อตัวกลับไปเหมือนเมื่อ 7 ปีที่แล้วซึ่งรอบนี้จะหนักและเข้มข้นมากกว่าที่ผ่านมา ศูนย์กลางของความขัดแย้งไปตกอยู่ที่ตัวนายกรัฐมนตรี อีกทั้งกลุ่มพลังที่ออกมาส่วนใหญ่เป็นนักเรียน นักศึกษา เยาวชน ตัวผู้นำที่แท้จริงไม่รู้ว่าเป็นใครจะเจรจากับใครก็ลำบาก การใช้กำลังเจ้าหน้าที่เหมือนเมื่ออดีตอาจมีข้อจำกัดเพราะกลายเป็นการรังแกเด็ก  ซึ่งสถานการณ์จะยิ่งบานปลายคุมกันไม่อยู่

แน่นอนสถานการณ์เช่นนี้ย่อมมีผลกระทบโดยตรงด้านเศรษฐกิจซึ่งอยู่ในภาวะตกต่ำขาดความชัดเจนไม่รู้จะฟื้นตัวได้อย่างไรเนื่องจากไปอิงกับเศรษฐกิจโลกซึ่งกำลังทรุดตัวมากสุดในรอบศตวรรษ ล่าสุดองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ระบุว่าตั้งแต่ช่วงโควิดจนถึงสิ้นสุดไตรมาส 3 มีพนักงาน-แรงงานที่มีงานประจำทั่วโลกตกงานไปแล้ว 840 ล้านคน  คิดเป็นรายได้ที่หายไปเป็นเงินไทย 110.25 ล้านล้านบาท

ขณะที่กระทรวงแรงงานและรองนายกรัฐมนตรีผู้ที่ดูแลด้านเศรษฐกิจระบุว่าการว่างงานยังปกติดีแถมมีอัตรารอคนมาสมัครอีก 1.239 ล้านตำแหน่ง ใครไม่มีงานทำให้ไปสมัครได้ที่งาน Job Expo (วันที่ 26-28 ก.ย. 63)  แสดงว่าเศรษฐกิจไทยแข็งแกร่งขนาด GDP ไตรมาส 2 หดตัวร้อยละ 12.2 หนักสุดเท่าที่เคยมี ทุกประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญการว่างงานครั้งใหญ่สุดในประวัติศาสตร์แต่ประเทศไทยมีงานเป็นล้านตำแหน่งแต่ไม่มีคนมาสมัคร จบการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิดคงมีนักวิชาการ-นักเศรษฐศาสตร์ทั่วโลกเข้ามาดูงานและใช้เป็นกรณีศึกษาของโลก

กลับมาเรื่องเศรษฐกิจภายใต้ภาวะวุ่นวายทางการเมืองที่เกิดขึ้นในเวลาที่ซึ่งประจวบเหมาะกับช่วงเศรษฐกิจของประเทศไม่ปกติกำลังทรุดตัวจะเป็นปัจจัยซ้ำเติมการแก้ปัญหาทั้งมาตรการเยียวยา-กระตุ้นและฟื้นฟูให้ภาคเอกชนกลับมาขับเคลื่อนซึ่งปัจจุบันมาตรการต่าง ๆ ออกมาแบบกระท่อนกระแท่นมีข้อจำกัดมากมายเป็นปัจจัยลบทำให้เศรษฐกิจไทยทั้งปัจจุบันและหลังวิกฤตโควิดจะฟื้นตัวได้ลำบากและเป็นการซ้ำเติมวิกฤตให้หนักเป็นทวีคูณ เนื่องจากที่ผ่านมาเครื่องมือต่าง ๆ ในการกู้วิกฤตแทบจะไม่ทำงานสะท้อนจากดัชนีการลงทุนที่หดตัวและการนำเข้าเครื่องจักรสินค้าทุนที่หดตัวมาต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปีและหนักสุดในช่วงเดือนกรกฎาคม ภาคการผลิตหดตัว

ด้านการนำข้า-ส่งออกจะหดตัวทำสถิติสำหรับด้านท่องเที่ยวที่มีโครงการกระตุ้นแพ็คเกจต่าง ๆ เช่น “เราเที่ยวด้วยกัน” มีการเพิ่มวันหยุดเดือนหน้าจะออกมาอีกชุดพร้อมด้วยเงินอุดหนุน คงช่วยเศรษฐกิจได้บ้างแต่คนส่วนใหญ่ไม่มีสตางค์ยังจะมีกระจิตกระใจไปเที่ยวอีกหรือ ด้านนักท่องเที่ยวต่างชาติกำลังมีแพ็คเกจ “STV : Special Tourist Visa” รอบแรกนำร่อง 300 คนคงได้เป็นแค่ลูกอมให้ชุ่มคอแต่แก้หิวไม่ได้

ในเวลาเช่นนี้คงต้องช่วยกันประคับประคองความขัดแย้งอาจเห็นต่างมีได้แต่ต้องคำนึงถึงปากท้องเป็นเรื่องสำคัญ ขณะเดียวกันประเด็นการแก้รัฐธรรมนูญไม่ใช่เป็นของแปลกแก้กันมา 22 ครั้งและในอนาคตคงแก้ไขกันอีกเป็นสิบครั้งถือเป็น “New Normal” ของสังคมการเมืองแบบไทย ๆ มานานแล้ว ประเด็นแก้รัฐธรรมนูญขณะนี้เป็นกระแสแรงควรให้มี “สสร.” ด้วยการสรรหาคนจากภาคส่วนต่าง ๆ รวมทั้งกลุ่มนักศึกษาให้เข้ามามีส่วนร่วมวางกรอบให้ชัดว่าจะแก้กันอย่างไรจะแก้มากน้อยเป็นบางมาตราว่ากันให้ตกผลึก แต่ที่จะให้สุดโต่งสำหรับสังคมไทยวันนี้อาจรับไม่ได้ ที่สำคัญก่อนนำไปทำประชามติต้องชี้แจงประชาชนให้เข้าใจไม่ใช่ออกมา “ซับซ้อนซ้อนเงื่อน” เหมือนคราวที่แล้วซึ่งตัวผมเองก็โดนไปด้วยเพราะเชื่อคนที่ทำว่าคงไม่มีอะไรซ่อนเร้นคราวนี้อย่าให้เขาหลอกอีก

สถานการณ์ที่ครุกกรุ่นและเปราะบางอย่างที่เป็นอยู่เจ้าหน้าที่ของรัฐจะทำอะไรต้องรอบคอบให้มองคนที่ออกมาแสดงความคิดเห็นด้วยความเมตตาเป็นลูกเป็นหลานเป็นคนไทยด้วยกัน สำหรับนักศึกษา-เยาวชนตัวจริงที่ใสปิ๊งปิ๊งต้องมองออกไปไกล ๆ เวลายังมีอีกมากอย่าให้กลายเป็นเครื่องมือของใครโดยเฉพาะนักการเมืองอาชีพ...พวกนี้เซียนทั้งนั้นนะครับ

( สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ทางเว็บไซต์  www.tanitsorat.com หรือ https://ift.tt/38GUnQt )

  

Let's block ads! (Why?)



"เศรษฐกิจ" - Google News
September 28, 2020 at 09:00AM
https://ift.tt/30cZncm

วิกฤตขัดแย้งแก้รัฐธรรมนูญ...ซ้ำเติมฟื้นเศรษฐกิจไทย - โพสต์ทูเดย์
"เศรษฐกิจ" - Google News
https://ift.tt/3crAsVL

No comments:

Post a Comment