Pages

Sunday, September 13, 2020

ผ่ากระแสเศรษฐกิจข้อครหารัฐถังแตก : พลิกวิกฤติเป็นโอกาส - ไทยรัฐ

kuyupkali.blogspot.com

ส่วนโครงการคนละครึ่งรับ 3,000 บาท ยังไม่สะเด็ดน้ำ โดยดึงคนรุ่นใหม่เข้ามาช่วยออกแบบตามโจทย์ที่นายกฯระบุว่า “ขอให้ลงถึงฐานราก”

เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก ลงไปถึงแม่ค้าแม่ขาย ตลาดสด ตลาดนัด ภายใต้เงื่อนไขใช้วันต่อวันตามเพดานวงเงินที่กำหนดต่อวัน หากไม่ใช้ในวันนั้น วันถัดไปมูลค่าเงินก็ลดลงโดยอัตโนมัติ ไม่เปิดช่องให้สะสมครบ 3,000 บาท เพื่อซื้อของชิ้นใหญ่

หากสุดวิสัยเกิดโควิดระบาดรอบสอง รัฐบาลได้เตรียมงบประมาณสำรองตาม พ.ร.ก.เงินกู้เอาไว้รองรับ ไม่ต้องห่วง คงไม่มีล็อกดาวน์ทั้งประเทศ เพราะทุกจังหวัดรู้ว่าพื้นที่ไหนเป็นพื้นที่ปลอดไวรัส

สมมติเกิดระบาดก็สั่งล็อกดาวน์เป็นพื้นที่

7 วันจบเหมือน “ระยองโมเดล”

แต่เป็นห่วงพื้นที่ตามแนวตะเข็บชายแดน

ผู้ประกอบการต้องใช้แรงงานต่างด้าวที่ถูกกฎหมาย

คนไทยการ์ดอย่าตก รัฐบาลฝ่ายเดียวเอาไม่อยู่หรอก

มีกระแสข่าวรัฐบาลถังแตก กระทบต่อโครงการคนละครึ่งรับ 3,000 บาทแค่ไหน นายสุพัฒนพงษ์ บอกว่า ไม่ต้องห่วง รัฐบาลเตรียมงบประมาณไว้แล้ว เงินคงคลังยังมีนับแสนล้าน และยังสามารถกู้เพิ่มได้อีก

ลองเปรียบเทียบประเทศไทยกับประเทศอื่นเราดีกว่าทั้งด้านการป้องกันโควิดและความเป็นอยู่คนละอารมณ์ความรู้สึก แม้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ติดลบเยอะที่สุด เป็นเรื่องธรรมดา เข้าใจได้เพราะประเทศไทยพึ่งการส่งออกและการท่องเที่ยว

พอไตรมาส 2 หลายประเทศในอาเซียนจีดีพีติดลบมากกว่าไทย

ศบศ.เตรียมรับมือวิกฤติเศรษฐกิจอย่างไร หากโควิดระบาดรอบสอง นายสุพัฒนพงษ์ บอกว่า ศบค.วางมาตรการป้องกันอย่างรัดกุม

และขอให้มองมุมบวก เช่น มาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว รัฐบาลโดนถล่มว่าล้มเหลว ขอให้ดูตัวเลขอัตราห้องพักเดิมแค่ 3 เปอร์เซ็นต์ ได้ขยับขึ้นเป็น 25 เปอร์เซ็นต์

มันมาจากน้ำใจคนไทยที่เขารู้ว่าต้องไปช่วยกัน แม้อยู่ในวงจำกัด เป็นพื้นที่ท่องเที่ยวที่เดินทางสะดวกโดยรถยนต์ เชื่อว่าวันหนึ่งคนไทยสะดวกเดินทางโดยเครื่องบินก็จะทำให้สถานการณ์การท่องเที่ยวดีขึ้น

เช่นเดียวกันในตัวเมืองใหญ่ อาทิ เกาะสมุย ภูเก็ต ซึ่งพึ่งพานักท่องเที่ยวต่างประเทศ ควรหาวิธีทำความเข้าใจกับคนในพื้นที่ เพื่อสร้างโมเดลเมืองท่องเที่ยว หากทำสำเร็จย่อมได้นักท่องเที่ยวเชิงคุณภาพเข้ามา

รัฐบาลถูกมองว่าล้มเหลวแก้ปัญหาปากท้อง ในสถานการณ์การเมืองร้อน มั่นใจอย่างไรในการรับมือวิกฤติเศรษฐกิจ นายสุพัฒนพงษ์ บอกว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทยอยออกมา แต่ยังมีคนเดือดร้อนอยู่ดี

เราต้องบริหารความรู้สึกของสังคมและฟื้นฟูเศรษฐกิจควบคู่กันไป

มาตรการด้านสุดท้ายยังมีบัตรสวัสดิการสำหรับผู้มีรายได้น้อย

เพื่อเตรียมรับมือปัญหานี้ได้อยู่หมัดแน่

สิ่งสำคัญอยากเห็นน้ำใจคนไทย ซึ่งผ่านการพิสูจน์มาแล้วจากการร่วมแรงร่วมใจช่วยเติมเต็มในมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวคนไทยยังจะช่วยกันตลอดไป

อย่ามองเมืองไทยในภาพลบ จนประชาชนระแวงไม่ใช้เงิน ไม่มีน้ำใจ ไม่ช่วยเหลือกัน อย่าเอาเรื่องเล็กมาเป็นเรื่องใหญ่ อย่าให้เห็นเรื่องที่เราทำสำเร็จเป็นเรื่องที่ไม่สำคัญ เรื่องดีที่ทำเสร็จต้องยกเอามาเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ

ผลกระทบทางการเมืองมีผลต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างไร นายสุพัฒนพงษ์ บอกว่า มีแน่นอน

ฉะนั้น เรื่องการเมืองก็ว่ากันไป ขอให้ทำการเมืองวิถีใหม่ ในฐานะเป็นรัฐมนตรีป้ายแดง มองเป็นโอกาสประเทศไทยอยู่ในจังหวะที่ดีมาก ไทยเดินต้วมเตี้ยม แต่ชาติอื่นล้ม

เราทำดีมีโอกาสพัฒนาประเทศแซงคนอื่น ความสำเร็จที่มีเป็นแรงดึงดูดนักลงทุนต่างชาติเข้ามาได้จริงๆ

ใช้ความได้เปรียบตรงนี้เป็นเครื่องมือฟื้นเศรษฐกิจ

แต่มีกระแสการทำรัฐประหารออกมาเป็นระยะ มีผลอย่างไรต่อการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ นายสุพัฒนพงษ์ บอกว่า คงคาดคิดกันไป เกิดจากความกังวลม็อบปลดแอกนัดชุมนุมใหญ่ในวันที่ 19 ก.ย.นี้

ควรเปิดให้ม็อบได้ชุมนุมตามสิทธิเสรีภาพ

หากห่วงการแก้รัฐธรรมนูญใช้เวลานาน ขอให้พูดกันดีๆ

ขอทุกฝ่ายอย่าสร้างเงื่อนไขให้เกิดผลลบทางการเมือง

เพื่อใช้โอกาสนี้เดินหน้าพัฒนาประเทศไทย.

ทีมการเมือง

Let's block ads! (Why?)



"เศรษฐกิจ" - Google News
September 14, 2020 at 05:15AM
https://ift.tt/3irc9uQ

ผ่ากระแสเศรษฐกิจข้อครหารัฐถังแตก : พลิกวิกฤติเป็นโอกาส - ไทยรัฐ
"เศรษฐกิจ" - Google News
https://ift.tt/3crAsVL

No comments:

Post a Comment