อย่าเพิ่งปลื้มใจ! แม้ดัชนีความเชื่อมั่นประชาชน และอุตสาหกรรมดีดขึ้นต่อเนื่อง ม.หอการค้าไทย–ส.อ.ท.มองเศรษฐกิจไทยยังย่ำแย่ ชี้แก้ไม่ได้คนตกงานพุ่ง 2 ล้านคนในปลายปี ระบุปัจจัยเลวร้ายคือ การระบาดรอบ 2 หากปิดประเทศเสียหายวันละ 9 พันล้านบาท ส่วนปัจจัยที่กังวลมากที่สุดขณะนี้คือ การเมือง
นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดี และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย ประจำเดือน ก.ค.63 ว่า ปรับขึ้นเล็กน้อยอยู่ที่ระดับ 31.8 จาก 31.5 ในเดือน มิ.ย.63 จากมาตรการผ่อนปรนที่ทยอยออกมาต่อเนื่อง 5 ระยะ ทำให้ธุรกิจต่างๆเกิดได้มากขึ้น รวมถึงรัฐมีมาตรการดูแลและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยยังอยู่ในภาวะไม่ดีทั่วประเทศ ประเมินจากดัชนีหอการค้าไทยรายภาค ซึ่งยังแย่ทุกรายการ รวมถึงช่วง 6 เดือนข้างหน้าซึ่งนักธุรกิจมองว่ายังไม่มีสัญญาณที่จะปรับตัวดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด มาตรการรัฐยังไม่สามารถช่วยฟื้นเศรษฐกิจได้ โดยเฉพาะการปล่อยสินเชื้อดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟท์โลน) ให้กับเอสเอ็มอีที่ยังเข้าไม่ถึงเงินทุน และอาจมีความเสี่ยงจะปลดแรงงานได้อีก ซึ่งศูนย์เคยประเมินว่า ถ้าเศรษฐกิจยังไม่ดี เอสเอ็มอีเข้าไม่ถึงแหล่งเงินทุน อาจปลดแรงงาน 2 ล้านคนในปลายปีนี้
ทั้งนี้ ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงติดลบมากกว่า 7.5% ขึ้นอยู่กับปัจจัยการเมืองว่าจะต้องไม่บานปลาย โดยหากยังไม่มีการใช้ความรุนแรง เป็นการชุมนุมแบบสงบจะไม่มีผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจไทย แต่มีผลกระทบเชิงลบต่อจิตวิทยาในการลงทุนอยู่บ้าง และต้องไม่เกิดการระบาดของโควิด-19 รอบ 2 แต่ถ้ามีการระบาดรอบ 2 และล็อกดาวน์บางพื้นที่ เศรษฐกิจไทยจะเสียหายวันละ 3,000-5,000 ล้านบาท เดือนละ 100,000-150,000 ล้านบาท แต่ถ้าสถานการณ์รุนแรงจนล็อกดาวน์ประเทศเหมือนช่วงต้นปี มูลค่าการใช้จ่ายจะหายไปวันละ 8,000-9,000 ล้านบาท หรือเดือนละ 240,000-270,000 ล้านบาท แต่เชื่อว่ากรณีนี้น่าจะเกิดขึ้นยาก
“การใช้จ่ายในประเทศเฉลี่ยอยู่ที่วันละ 20,000 ล้านบาท การล็อกดาวน์ประเทศที่ผ่านมาทำให้มูลค่าการใช้จ่ายหายไปค่อนข้างมาก และเมื่อผ่อนคลายล็อกดาวน์จริง การใช้จ่ายกลับมาอยู่ที่เฉลี่ยวันละ 7,000-9,000 ล้านบาท แต่ถ้าจะให้กลับมาใช้จ่ายเท่าเดิมที่วันละ 20,000 ล้านบาท คงต้องรอเปิดให้นักท่องเที่ยวกลับมา อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าการเปิดประเทศในไตรมาส 4 ปีนี้คงยาก และการจับคู่เที่ยว (ทราเวล บับเบิ้ล) คงยังไม่เกิดขึ้นเช่นกัน”
ด้านนายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเมื่อเดือน ก.ค.ที่ผ่านมาว่า อยู่ที่ระดับ 82.5 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือน มิ.ย.ที่อยู่ที่ระดับ 80.0 เป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน อย่างไรก็ตาม แม้ว่าค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ จะเพิ่มขึ้น แต่ยังต่ำกว่าระดับ 100 และยังต่ำกว่าก่อนการระบาดของไวรัสโควิด-19 เนื่องจากผู้ประกอบการยังมีความกังวลต่อสภาพคล่องของกิจการตนเอง และการเข้าถึงสินเชื่อที่ทำได้ลำบาก การฟื้นตัวของภาคการส่งออก ตลอดจนความเสี่ยงของการกลับมาระบาดรอบสอง ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 93.0 เพิ่มขึ้นจาก 90.1 ในเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมาจากความเชื่อมั่น ที่ปรับตัวดีขึ้น โดยจากการสำรวจพบปัจจัยที่คาดว่าจะส่งผลให้ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมมีความกังวลเพิ่มขึ้น ได้แก่ สถานการณ์ทางการเมืองในประเทศคิดเป็น 51.8% นอกจากนั้นยังมีเรื่องของราคาน้ำมัน คิดเป็น 38% และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ คิดเป็น 22% ตามลำดับ
ทั้งนี้ ส.อ.ท.ได้มีข้อเสนอแนะให้ภาครัฐ ขยายระยะเวลามาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการทุกกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ที่จะทยอยสิ้นสุดอายุการช่วยเหลือในเดือน ก.ย.นี้ออกไปจนถึงสิ้นปีนี้ เช่น การพักหนี้ ลดเงินนำส่งประกันสังคม เพื่อช่วยเสริมสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการ และเร่งเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐ โดยเฉพาะโครงการลงทุนของภาครัฐ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ เป็นต้น.
อ่านเพิ่มเติม...
"เศรษฐกิจ" - Google News
August 21, 2020 at 08:24AM
https://ift.tt/2EbYau6
โควิด-19 ระบาดรอบ 2 เศรษฐกิจพัง เอกชนวอน “การเมือง” ไม่รุนแรง - ไทยรัฐ
"เศรษฐกิจ" - Google News
https://ift.tt/3crAsVL
No comments:
Post a Comment