Pages

Monday, July 20, 2020

"เครดิตสวิส" เผยแนวโน้มลงทุนครึ่งปีหลัง ก้าวสู่หนทางพลิกฟื้นตลาด-เศรษฐกิจ - ประชาชาติธุรกิจ

kuyupkali.blogspot.com

“ภาวะผลกระทบทางเศรษฐกิจช่วงครึ่งปีแรก 2563 จบลงด้วยทิศทางในเชิงบวก โดยตลาดหุ้นยังมีความยืดหยุ่นในการรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ดี หลังจากแนะนำให้เพิ่มสัดส่วนการลงทุนหุ้นตั้งแต่เดือน มี.ค.ที่ผ่านมา คณะกรรมการการลงทุนของเครดิต สวิส ตัดสินใจตั้งจุดทำกำไร (take profit) อย่างรอบคอบและปรับน้ำหนักหุ้นกลับมาอยู่ในระดับที่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม เครดิต สวิส เชื่อว่าปัจจัยต่างๆ โดยเฉพาะนโยบายทางการเงินที่สำคัญและการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ จะช่วยให้หุ้นมีอัพไซด์ (Upside) ที่สูงขึ้นสำหรับการซื้อขายระยะกลาง (medium term)”

มร.จอห์น วูดส์ ประธานฝ่ายงานลงทุนประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เครดิต สวิส กล่าวว่า แม้จะยังเห็นปัจจัยความไม่แน่นอนของสถานการณ์โควิด-19 อยู่สูงมาก แต่เราเชื่อว่าประเทศต่าง ๆ จะสามารถควบคุมการแพร่ระบาดระลอก 2 ได้อย่างรวดเร็ว และส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจน้อยที่สุด ประชาชนทั่วไปมีความระมัดระวังตัวมากขึ้น กระบวนการตรวจหาเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่และการติดตามผู้ติดเชื้อและผู้ที่มีความเสี่ยงรวมถึงระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยมีมีประสิทธิภาพมากขึ้น ท่ามกลางปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่าลงเมื่อไม่นานมานี้จะเป็นปัจจัยบวกที่ช่วยขับเคลื่อนหุ้นและสินเชื่อเอเชียได้”

@@ ทิศทางการเติบโตที่สดใส

ความผันผวนของตลาดที่พุ่งสูงขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ เป็นผลมาจากความวิตกกังวลต่อสถานการณ์การระบาดโควิด-19 ระลอก 2 ในจีนและสหรัฐอเมริกา รวมถึงอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนช่วงเดือนพฤษภาคมต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ อย่างไรก็ดี เครดิต สวิส ยังคงเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในสินเชื่อและสินค้าโภคภัณฑ์ และคาดว่าตลาดต่างๆ จะสามารถผ่านพ้นอุปสรรคความกังวลดังกล่าวต่อไปได้ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ทั้งนี้ เครดิต สวิส มีมุมมองที่เป็นกลางต่อหุ้นสำหรับพอร์ตการลงทุน

นโยบายสนับสนุนที่แข็งแกร่งของธนาคารกลางและรัฐบาลประเทศต่างๆ ทั่วโลก เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เครดิต สวิส มีมุมมองในเชิงบวก โดยเฉพาะนโยบายการจัดหาเงินทุนเพื่อบริหารสภาพคล่องที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ สามารถสร้างความเชื่อมั่นของเครดิต สวิส ต่อตลาดต่างๆ ได้มากขึ้น

@@ เศรษฐกิจโลก – รีบาวน์ระยะสั้น แต่ใช้เวลาฟื้นตัวนาน

ผลกระทบรุนแรงจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ตัวเลขจีดีพีโลกดิ่งลงเป็นประวัติการณ์ การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างยากลำบากในเดือนพฤษภาคม แต่คาดว่าจะกลับมาขยายตัวเพิ่มมากขึ้นเมื่อกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วเปิดเศรษฐกิจอีกครั้ง อย่างไรก็ดี กิจกรรมทางเศรษฐกิจจะยังอยู่ในระดับต่ำตลอดช่วงเวลาที่เหลืออยู่ของปีนี้ และคาดว่าอัตราจีดีพีโลกประจำปีจะหดตัวลงร้อยละ 3.7 ในปีนี้ โดยจะปรับตัวกลับมาที่ร้อยละ 4.6 ในปี 2564

เมื่อพนักงานกลับมาทำงานที่ออฟฟิศได้แล้ว ยุโรปและสหรัฐอเมริกาจะเป็นผู้นำการฟื้นฟูเศรษฐกิจของตลาด ปัญหาการว่างงานชั่วคราวในสหรัฐอเมริกามีแนวโน้มที่จะผ่านจุดเลวร้ายที่สุด นโยบายการลาพักงานในยุโรปก็ช่วยเลี่ยงไม่ให้อัตราการว่างงานพุ่งสูงขึ้นได้ และสิทธิประโยชน์สำหรับคนว่างงานที่มีการขยายระยะเวลาออกไปและโครงการให้เงินช่วยเหลือยังช่วยให้แต่ละครัวเรือนมีเงินสดหมุนเวียนที่สมดุลกับรายจ่าย ดังนั้นเป็นไปได้ว่าการใช้จ่ายของผู้บริโภคจะปรับตัวเพิ่มขึ้นในเร็วๆ นี้

งานวิจัยทางการแพทย์ล่าสุดระบุว่า เราสามารถควบคุมโอกาสเสี่ยงเรื่องผู้ติดเชื้อได้โดยที่ไม่ต้องล็อคดาวน์ระบบเศรษฐกิจทั้งหมด ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์ของหลายประเทศในเอเชีย

จีนเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกตินับตั้งแต่รายงานยอดผู้ติดเชื้อพุ่งสูงสุดในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และยังคงบังคับใช้มาตรการรักษาระยะห่างทางสังคมอย่างเข้มงวด รวมถึงสั่งปิดพื้นที่ท้องถิ่นเมื่อเกิดการระบาดในกลุ่มเล็กๆ เป็นบางครั้ง เครดิต สวิส คาดว่าอัตราการเติบโตจีดีพีของจีนจะอยู่ที่ร้อยละ 3.3 ในปี 2563 และร้อยละ 5.6 ในปี 2564

อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงที่จะเกิดการแพร่ระบาดใหม่ๆ ยังคงสูงอยู่ ประกอบกับหลายประเทศประสบปัญหาด้านความแตกต่างของประชากร โครงสร้างพื้นฐานด้านการแพทย์ นโยบายที่ไร้ประสิทธิภาพ และประเด็นความขัดแย้งทางวัฒนธรรม แต่นโยบายการควบคุมโรคที่เคร่งครัดเกินไปก็จะเป็นอุปสรรคต่อภาคธุรกิจในการกลับไปดำเนินกิจกรรมตามปกติอย่างเต็มที่ ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บัญชีงบดุลและแนวโน้มรายได้ขององค์กรธุรกิจได้ในระยะยาว

แม้ว่าการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ในยุโรปจะชะลอตัวลง แต่กลุ่มตลาดเกิดใหม่อย่างบราซิล รัสเซีย เม็กซิโก และอินเดีย กลับพบยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้น สถานการณ์ในสหรัฐอเมริกาก็ยังครึ่งๆ กลางๆ โดยรัฐที่เปิดเมืองไปก่อนหน้า ตอนนี้มียอดผู้ติดเชื้อใหม่เพิ่มสูงขึ้นแซงหน้าเมืองอื่นๆ ในขณะที่รัฐนิวยอร์กได้ผ่านพ้นช่วงที่มียอดผู้ติดเชื้อสูงสุดไปสักระยะแล้ว

ด้านนโยบายสนับสนุนทางการเงิน ธนาคารกลางยุโรปได้ขยายการซื้อสินทรัพย์ และคาดว่าสหภาพยุโรปจะจัดตั้งกองทุนเพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจ (Recovery Fund) ขึ้น หลังจากมาตรการกระตุ้นด้านการเงินครั้งใหญ่ในเยอรมนี ส่วนธนาคารกลางสหรัฐฯ มุ่งดำเนินมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณทางการเงิน (Quantitative Easing: QE) ขั้นพื้นฐานอย่างไม่จำกัด และมีความเป็นไปได้ว่าเฟดอาจใช้มาตรการชี้นำทิศทางนโยบายอัตราดอกเบี้ย (Forward Guidance) ที่ชัดเจน หรือมาตรการควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทน (Yield Curve Control) รัฐบาลสหรัฐฯ ยังมีมาตรการสนับสนุนด้านการเงินสำหรับรัฐต่าง ๆ ในประเทศที่ได้รับผลกระทบ และขยายเวลาสิทธิประโยชน์สำหรับผู้ว่างงาน ในขณะที่กลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ทั่วโลกก็มีแนวโน้มที่จะผ่อนคลายเงื่อนไขทางการเงินเพิ่มเติมด้วย

@@ มุมมองการลงทุนที่สำคัญในช่วงเวลาที่เหลือของปี 2563

– แนวโน้มหุ้นโลก ความผันผวนของตลาดหุ้นที่รุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ เริ่มส่งสัญญาณชะลอตัวลง อย่างไรก็ตาม จำนวนยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่กลับมาพุ่งสูงอีกครั้ง ทำให้เกิดความไม่แน่นอนว่าเศรษฐกิจโลกจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้อย่างรวดเร็วหรือไม่ ในขณะเดียวกันก็ใกล้จะถึงช่วงรายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 2/2563 ซึ่งจะสะท้อนผลกระทบของมาตรการล็อคดาวน์ต่อเศรษฐกิจอย่างแท้จริง และใกล้ช่วงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เครดิต สวิส มองว่าสถานการณ์ต่างๆ เหล่านี้อาจส่งผลให้ตลาดมีความผันผวนอีกครั้ง ประกอบกับเป็นช่วงเวลาที่ตลาดมักเผชิญกับสภาพคล่องต่ำกว่าช่วงอื่นๆ อย่างไรก็ตาม เครดิต สวิส ยังมองว่าตลาดหุ้นต่างๆ ยังมีโอกาสด้านผลตอบแทนที่น่าสนใจอยู่

− เมื่อเทียบในระดับภูมิภาค เครดิต สวิส มองว่าเยอรมนี ออสเตรเลีย และสวิสเซอร์แลนด์จะเติบโตโดดเด่นกว่าประเทศอื่นๆ ในขณะที่ญี่ปุ่นจะเติบโตน้อยกว่า

− เมื่อเทียบภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ทั่วโลก เครดิต สวิส มองว่าอุตสาหกรรมไอที บริการสุขภาพ (Healthcare) และพลังงานจะเติบโตโดดเด่นที่สุด ส่วนตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคจำเป็น (consumer staples) และกลุ่มบริการด้านการสื่อสารจะเติบโตน้อยกว่า

@@ ตลาดหุ้นเอเชีย

“เข้าก่อนออกก่อน” (first-in, first-out) และ “ยังได้รับความนิยม” (fear of missing out) เศรษฐกิจของประเทศแถบเอเชียตอนเหนือถือเป็นกลุ่มแรกๆ ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติการแพร่ระบาดโควิด-19 และหลังจากผ่านมาตรการรับมือ ทั้งการกักตัวผู้ติดเชื้อ ล็อคดาวน์เมือง/ประเทศ การตรวจหาเชื้อโควิด-19 และการดูแลรักษาผู้ป่วย ประเทศเหล่านี้ก็เป็นกลุ่มแรกที่ฟื้นตัวจากวิกฤติการณ์นี้เช่นกัน เครดิต สวิส ได้นิยามประเทศกลุ่มนี้ว่าเป็น “Asia FIFO” หรือ “กลุ่มเข้าก่อนออกก่อนของเอเชีย” อย่างไรก็ดี ในขณะที่เศรษฐกิจของเอเชียเติบโตโดดเด่นกว่าภูมิภาคอื่น ตลาดหุ้นเอเชียก็ยังมีช่องว่างและโอกาสในการเติบโตเมื่อเทียบกับตลาดประเทศพัฒนาแล้ว เครดิต สวิส มองว่าหุ้นเอเชียจะสามารถเติบโตโดดเด่นได้ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ปัจจัยต่างๆ อย่างตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เติบโตขึ้นอย่างสอดคล้องกัน การประเมินหุ้นด้วยค่า CAPE หรือ cyclical adjusted price-to-earnings (P/E) ratios อย่างเหมาะสม และค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่าลง จะช่วยส่งเสริมกระแสเงินทุนต่างประเทศให้ไหลเข้าสู่ตลาดหุ้นเอเชียได้เช่นกัน

ตลาดหุ้นจีน – อุตสาหกรรมเศรษฐกิจใหม่จะได้รับอานิสงส์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศ
เครดิต สวิส คาดว่าหุ้นจีนจะเติบโตโดดเด่นกว่ากลุ่มตลาดเกิดใหม่ในภูมิภาค โดยมีการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศ แนวโน้มรายได้ที่เติบโตเด่นชัด และการประเมินราคาหุ้นที่เหมาะสม ช่วยเสริมการเติบโตของตลาดจีน

เศรษฐกิจจีนส่งสัญญาณของการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องและจะก้าวนำเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะในช่วงครึ่งปีหลัง 2563 ซึ่งจะส่งผลให้การคาดการณ์ผลประกอบการของบริษัทต่างๆ ที่มีการปรับลดต่ำลงก่อนหน้ากลับมาฟื้นตัวได้อีกครั้ง และกลายเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่สามารถรอดพ้นการหดตัวของผลประกอบการประจำปีงบประมาณ 2563

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกาที่กลับมาประทุอีกครั้งยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของตลาดหุ้นจีน เครดิต สวิส มองว่า หากยังไม่มีการปรับอัตราภาษีเพิ่มขึ้นอีก นักลงทุนก็จะปรับตัวและยอมรับสถานการณ์ความตึงเครียดที่เกิดขึ้นได้ และให้ความสำคัญกับปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่งแทน

@@ ตลาดหุ้นไทยและเอเชีย

มร.เอ็ดวิน ตัน หัวหน้าฝ่ายบริหารความมั่งคั่งประจำประเทศไทย หัวหน้าฝ่ายที่ปรึกษาและฝ่ายขายประจำประเทศไทย พร้อมดูแลกลุ่มลูกค้าผู้ลงทุนรายใหญ่ประจำภูมิภาคเอเชียใต้ ส่วนธุรกิจไพรเวท แบงกิ้ง ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เครดิต สวิส กล่าวว่า “หุ้นไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 30 จากช่วงเดือนมีนาคมที่ลดต่ำลง เป็นผลจากสภาพคล่องในประเทศ หลังจากรัฐบาลมีมาตรการผ่อนคลายล็อคดาวน์ประเทศ 4 ระยะตั้งแต่ช่วงต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา รวมถึงยกเลิกระยะเวลาเคอร์ฟิว อนุญาตให้มีการเดินทางข้ามจังหวัดได้ และการเปิดโรงเรียน ความต้องการของผู้บริโภคในประเทศก็เริ่มจะฟื้นตัวขึ้น อย่างไรก็ดี อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวซึ่งนับเป็นอัตราส่วนร้อยละ 12 ของจีดีพีประเทศ (มากที่สุดในเอเชีย) ยังคงเป็นหัวใจสำคัญของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในระยะยาว

เครดิต สวิส ยังคงมีมุมมองที่เป็นกลางต่อหุ้นไทย และคาดว่าจะมีการเติบโตในระดับเดียวกันกับประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่อื่นๆ ในภูมิภาค แม้จะมีปัจจัยแรงปะทะในระยะใกล้ เครดิต สวิส มีมุมมองที่เป็นบวกต่ออุตสาหกรรมบริการสุขภาพและการค้าปลีก เพราะมีแนวโน้มที่จะเติบโตได้ดีด้วยกำลังการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น

เมื่อเทียบกับตลาดอื่นๆ ในเอเชีย คาดว่าหุ้นสิงคโปร์จะเติบโตในระดับเดียวกับประเทศอื่นในภูมิภาค เครดิต สวิส มองว่าฮ่องกง ไต้หวัน และอินโดนีเซียจะเติบโตโดดเด่นที่สุด ขณะที่อินเดียและมาเลเซียเติบโตน้อยกว่า”

@@ อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทไทย – อยู่ในระดับคงที่

มร.ตัน กล่าวเพิ่มเติมว่า “เครดิต สวิส ยังมีมุมมองที่เป็นกลางต่ออัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และปรับลดการคาดการณ์เงินบาทไทยอยู่ที่ 30.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐในอีก 3 เดือนข้างหน้า และที่ 30.0 ต่อดอลลาร์สหรัฐในอีก 12 เดือนข้างหน้า ตามลำดับ สอดคล้องกับที่เครดิต สวิส คาดการณ์ถึงแนวโน้มอัตราแลกเปลี่ยนที่จะลดต่ำลง อย่างไรก็ตาม จากรายได้ภาคการท่องเที่ยวที่ไทยสูญเสียไปเริ่มส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ดังนั้นการปรับดัชนีค่าเงินบาท เพิ่มเติมจะขึ้นอยู่กับหน่วยงานที่มีหน้าที่กำหนดนโยบายเป็นหลัก ในระยะสั้นที่ภาคการท่องเที่ยวน่าจะยังไม่สามารถฟื้นตัวได้ เครดิต สวิส คาดการณ์ว่าค่าเงินบาทจะอยู่ในระดับเดียวกับค่าเงินอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชีย ปัจจัยกระตุ้นอื่นๆ ยังขึ้นอยู่กับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและการท่องเที่ยวในต่างประเทศ โดยเฉพาะในจีน” (ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 17 มิถุนายน 2563 จากบลูมเบิร์ก ดาต้าสตรีม เครดิต สวิส)

Let's block ads! (Why?)



"เศรษฐกิจ" - Google News
July 20, 2020 at 11:53AM
https://ift.tt/2OCJ9Dj

"เครดิตสวิส" เผยแนวโน้มลงทุนครึ่งปีหลัง ก้าวสู่หนทางพลิกฟื้นตลาด-เศรษฐกิจ - ประชาชาติธุรกิจ
"เศรษฐกิจ" - Google News
https://ift.tt/3crAsVL

No comments:

Post a Comment