ภาวะเงินเฟ้อของไทยติดลบต่อเนื่อง จนเกิดประเด็นที่ว่าเศรษฐกิจไทยจะเข้าสู่ “ภาวะเงินฝืด”หรือไม่ แม้มีความเสี่ยงมากขึ้นว่าเศรษฐกิจไทยจะเผชิญกับภาวะเงินฝืด เมื่อกระทรวงพาณิชย์ระบุว่าขณะนี้เป็นภาวะเงินฝืดเชิงเทคนิค
กระทรวงพาณิชย์ รายงานดัชนีผู้บริโภคทั่วไป (CPI) ในเดือน พ.ค.63 อยู่ที่ 99.76 ลดลง -3.44% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการหดตัวในรอบ 10 ปี 10 เดือน แต่เมื่อเทียบเดือน เม.ย.63 ขยายตัว 0.01% โดยในช่วง 5 เดือนแรก (ม.ค.-พ.ค.) ของปี 63 เฉลี่ย -1.04%
ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) ในเดือน พ.ค.63 อยู่ที่ 102.51 เพิ่มขึ้น 0.01% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ลดลง -0.30% จากเดือน เม.ย.63 และช่วง 5 เดือนแรก (ม.ค.-พ.ค.) เฉลี่ย 0.40%
น.ส.พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) มองว่าเงินเฟ้อลดลงในรอบ 10 ปี 10 เดือน เทียบได้กับช่วงวิกฤติซับไพร์มในรอบนั้น ทำให้เงินเฟ้อของไทยเข้าสู่ภาวะเงินฝืดทางเทคนิคเพราะติดลบต่ำกว่า 0% ต่อเนื่องกัน 3 เดือน แต่หากดูในรายละเอียดของราคาสินค้า จะพบว่าราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นมีมากกว่าราคาสินค้าที่ลดลง ซึ่งอาจจะไม่สอดคล้องกับหลักการของเงินฝืดอย่างครบถ้วนนัก เพราะถ้าเงินฝืดจริงๆ ต้องมาจากการลดราคาสินค้าจำนวนมาก แม้จะเข้าสู่ภาวะเงินฝืดในความหมายแคบ แต่ราคาและความเคลื่อนไหวต่างๆ ไม่น่ากังวล”
ด้านนายดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ในการดำเนินนโยบายการเงิน ธปท. อิงนิยามภาวะเงินฝืดของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ซึ่งต้องเข้าเงื่อนไข 4 ข้อ ดังนี้
1. อัตราเงินเฟ้อติดลบเป็นเวลานานพอสมควร (prolonged period) 2. อัตราเงินเฟ้อติดลบกระจายในหลายๆหมวดสินค้าและบริการ 3. การคาดการณ์เงินเฟ้อในระยะยาว (ปรกติดูที่ระยะ 5 ปี) ต่ำกว่าเป้าหมายระยะปานกลางอย่างมีนัย และ 4. อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจติดลบ และอัตราว่างงานมีแนวโน้มสูงขึ้น
หากพิจารณาตามเงื่อนไขดังกล่าว พบว่าอัตราเงินเฟ้อไทยติดลบมาเพียงสามเดือน แม้ประมาณการล่าสุดของ ธปท. จะให้อัตราเงินเฟ้อทั้งปีนี้ติดลบ แต่ยังมองว่าปีหน้าจะกลับเป็นบวกได้ อีกทั้งเป็นการติดลบจากราคาพลังงานเป็นสำคัญ
ขณะที่การคาดการณ์เงินเฟ้อระยะ 5 ปี อยู่ที่ร้อยละ 1.8 ต่อปี ถือว่าใกล้เคียงกับกึ่งกลางของช่วงเป้าหมายเงินเฟ้อของ ธปท. ที่ 1-3% ต่อปี จึงยังไม่เข้าข่ายเงินฝืดตามนิยามของการดำเนินนโยบายการเงิน
นายดอนกล่าวว่าเศรษฐกิจไทยยังมีความเสี่ยงเข้าสู่ภาวะเงินฝืดได้ หากเศรษฐกิจไทยหดตัวลึกหรือฟื้นตัวช้ากว่าที่ประเมินมาก โดย ธปท. จะติดตามพัฒนาการของเศรษฐกิจและเงินเฟ้ออย่างใกล้ชิด
ทั้งนี้ ภาวะเงินฝืด เป็นภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการทั่วไปลดต่ำลง เพราะอุปสงค์หดตัว ทำให้ผู้ผลิตต้องลดราคาสินค้า และลดการผลิตลงเพราะว่าถ้าผลิตออกมาเท่าเดิมก็ขายได้น้อย ผลที่ตามมาจะก่อให้เกิดผลเลวร้ายต่อเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการจ้างงานจะลดลง และกระทบต่อมาตรฐานความเป็นอยู่ของประชาชน
"เศรษฐกิจ" - Google News
June 04, 2020 at 11:55AM
https://ift.tt/2AFMRrO
เศรษฐกิจไทยเสี่ยงเผชิญ 'ภาวะเงินฝืด'? - Businesstoday
"เศรษฐกิจ" - Google News
https://ift.tt/3crAsVL
No comments:
Post a Comment