Pages

Saturday, June 6, 2020

แบงก์ชาติ: เศรษฐกิจไทยหดตัวมากกว่าคาด มีแนวโน้มความไม่แน่นอนสูง ว่างงานสูง - Brand Inside

kuyupkali.blogspot.com

รายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (ฉบับย่อ) ครั้งที่ 3/2563 เผยแพร่เมื่อ 4 มิถุนายน 2563 ระบุว่า ภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศ เศรษฐกิจประเทศคู่ค้ามีแนวโน้มหดตัวมากกว่าที่ประเมินไว้จากการระบาดของโควิด-19 และมาตรการควบคุมการระบาดทั่วโลก ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและการจ้างงานได้รับผลกระทบ

เศรษฐกิจประเทศอุตสาหกรรมหลักและเศรษฐกิจเอเชีย (ไม่รวมจีน) เข้าสู่ภาวะถดถอย การผลิตและการส่งออกหดตัวตามอปุสงค์โลก เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มขยายตัวต่ำ แม้จีนผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดแต่ยังใช้มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม กิจกรรมทางเศรษฐกิจปรับดีขึ้น แต่ยังต่ำกว่าปกติทั้งในภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ ผลกระทบจากโควิด-19 ส่งผลให้การดำเนินนโยบายทางการคลังของประเทศอุตสาหกรรมหลักหลายประเทศมีข้อจำกัดมากขึ้น สัดส่วนหนี้สาธารณะสูงขึ้น ดอกเบี้ยนโยบายอยู่ในระดับต่ำมาก

ภาพจาก Shutterstock

คณะกรรมการนโยบายการเงินประเมินว่าเศรษฐกิจประเทศคู่ค้ามีโอกาสหดตัวมากกว่าคาดและฟื้นตัวช้า จากการระบาดของโควิดรวมทั้งมีความเสี่ยงอื่นๆ อาทิ

  • การกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่อาจกลับมาทวีความรุนแรงขึ้น
  • ความเปราะบางของเสถียรภาพระบบการเงินโลกทั้งในและนอกภาคการเงิน เช่น ครัวเรือนและธุรกิจอาจมีความเสี่ยงด้านการเงิน เร่งขายสินทรัพย์จำนวนมาก ส่งผลให้ราคาสินทรัพย์ลดเร็ว
  • ความผันผวนของราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์
  • ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์

ภาวะตลาดการเงิน มีเสถียรภาพมากขึ้นหลังแบงก์ชาติดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพตลาดการเงิน โดยแบงก์ชาติเข้าดูแลสภาพคล่องผ่านการซื้อพันธบัตรรัฐบาล จัดตั้งกลไกช่วยเหลือกองทุนรวมที่ได้รับผลกระทบจากการขาดสภาพคล่องในตลาดการเงิน รวมทั้งจัดตั้งกองทุนเพื่อรักษาสภาพคล่องของการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับลดลงจากช่วงก่อนหน้าที่ปรับสูงขึ้นมากตามภาวะตลาดการเงินโลกตึงตัวขึ้น อัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ภาคเอกชนในตลาดรองผันผวนน้อยลง

อัตราแลกเปลี่ยน เงินบาทแข็งค่าขึ้นเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ และสกุลเงินภูมิภาค สะท้อนจากดัชนีค่าเงินบาท หลังโควิด-19 ปรับดีขึ้นและหลายประเทศรวมถึงไทยเริ่มผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาด นโยบายการเงินที่ผ่านคลายมากขึ้นของธนาคารกลางกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมหลักในช่วงที่ผ่านมา นักลงทุนต่างชาติเริ่มกลับเข้ามาลงทุนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวของไทย เงินบาทยังได้รับแรงกดดันจากการส่งออกทองคำที่สูงขึ้นตามทิศทางราคาทองคำ ตลาดการเงินโลกยังมีแนวโน้มผันผวน แนวโน้มเศรษฐกิจยังมีปัจจัยเสี่ยงและความไม่แน่นอนอยู่มาก คณะกรรมการฯ กังวลสถานการณ์เงินบาทอาจกลับมาแข็งค่าขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

Thai Baht เงินบาท
ภาพจาก Shutterstock

เศรษฐกิจในประเทศและเสถียรภาพระบบการเงิน มีแนวโน้มหดตัวมากกว่าที่ประเมินไว้ ส่งออกบริการมีแนวโน้มหดตัวมากกว่าคาด ตามจำนวนนักท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มลดลงมากจากมาตรการจำกัดการเดินทางที่อาจขยายระยะเวลาออกไป การส่งออกสินค้ามีแนวโน้มหดตัวมากกว่าคาดตามแนวโน้มเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า ราคาน้ำมันที่หดตัวส่งผลต่อราคาสินค้าสงออกที่เกี่ยวข้องกับปิโตรเลียม อุปสงค์ต่างประเทศและในประเทศที่หดตัวส่งผลให้รายได้ของธุรกิจและครัวเรือนลดลงในวงกว้าง

การบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มหดตัว จากการว่างงานที่สูงขึ้นและมาตรการควบคุมการระบาด มาตรการเยียวยาของภาครัฐมีส่วนช่วยประคับประคองกำลังซื้อของครัวเรือนได้บางส่วน ครัวเรือนภาคเกษตรได้รับผลกระทบภัยแล้งมากขึ้น ครัวเรือนนอกภาคเกษตรได้รับผลกระทบจากการลดชั่วโมงการทำงาน ลดค่าจ้าง และการเลิกจ้างของธุรกิจ การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มหดตัวจากอุปสงค์และความเชื่อมั่นที่ลดลง ธุรกิจปรับลดการลงทุนเพื่อรักษาสภาพคล่อง การใช้จ่ายภาครัฐมีแนวโน้มขยายตัวสูงกว่าที่ประเมินไว้

คณะกรรมการฯ กังวลต่อแนวโน้มการจ้างงานที่ลดลงมากและอาจใช้เวลานานกว่าจะกลับเป็นปกติทั้งในกลุ่มลูกจ้างและผู้จ้างงานตนเอง แรงงานบางส่วนอาจว่างงานชั่วคราวในช่วงที่มีมาตรการควบคุมการระบาด แรงงานบางส่วนอาจว่างงานถาวรเนื่องจากธุรกิจประสบปัญหาด้านฐานทางการเงินจนปิดกิจการ ลดการจ้างงานตามอุปสงค์ที่ลดลง หรือปรับตัวใช้เทคโนโลยีทดแทนแรงงานมากขึ้น กลุ่มนักศึกษาจบใหม่จะหางานยากขึ้น ส่งผลให้เศรษฐกิจฟื้นตัวช้าและศักยภาพการเติบโตในระยะยาวลดต่ำลง 

ภาพจาก Shutterstock

การลงทุนภาคเอกชนมีความเสี่ยงอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่อง จากฐานะทางการเงินเปราะบางของภาคเอกชน แนวโน้มการว่างงานและแนวโน้มเศรษฐกิจ ดังนั้น มาตรการการคลังและการลงทุนภาครัฐจะต้องเป็นเครื่องมือหลักในการประคับประคองเศรษฐกิจ รวมถึงลดความเสี่ยงที่เศรษฐกิจจะทรุดตัวมากจนถึงระดับส่งผลต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจและเสถียรภาพระบบการเงินในวงกว้าง

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มต่ำกว่ากรอบเป้าหมาย มีแนวโน้มติดลบมากกว่าที่ประเมินไว้จากหมวดพลังงานเป็นสำคัญ ตามแนวโน้มราคาน้ำมันที่ลดลงมาก ภาวะเศรษฐกิจมีแนวโน้มหดตัวในปีนี้ส่งผลให้เสถียรภาพระบบการเงินเปราะบางมากขึ้น ครัวเรือนแลละธุรกิจมีความเสี่ยงในความสามารถในการชำระหนี้มากขึ้น โดยเฉพาะหลังมาตรการช่วยเหลือสภาพคล่องของภาครัฐสิ้นสุดลง

ธุรกิจโรงแรม ภัตตาคาร และสายการบินได้รับผลกระทบมากจากโควิด-19 ส่วนธุรกิจปิโตรเลียมได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ลดลง ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ได้รับผลกระทบจากอุปสงค์ที่ลดลงทั้งในและต่างประเทศ ดัชนีอาคารชุดเริ่มทรงตัวหลังจากที่ปรับสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ระบบสถาบันการเงินโดยรวมยังมีเสถียรภาพ ธนาคารพาณิชย์มีระดับเงินกองทุนและเงินสำรองที่เข้มแข็ง

การดำเนินนโยบายการเงิน คณะกรรมการฯ มีมติ 4 ต่อ 3 เสียง ให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปี จากร้อยละ 0.75 เป็นร้อยละ 0.50  ขณะที่กรรมการ 3 ท่านเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.75 ต่อปี 

คณะกรรมการฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2563 มีแนวโน้มหดตัวกว่าประมาณการเดิมตามแนวโน้มเศรษฐกิจโลกและผลกระทบจากมาตรการควบคุมโรคระบาดทั่วโลก ภาวะเศรษฐกิจที่หดตัวมีผลกระทบต่อการจ้างงานและความเปราะบางด้านเสถียรภาพระบบการเงินมากขึ้น อาจมีผู้ได้รับผลกระทบต่อการจ้างงานและความเปราะบางด้านเสถียรภาพระบบการเงินมากขึ้น อาจมีผู้ได้รับผลกระทบในวงกว้างมากกว่าที่คาด คณะกรรมการให้คงดอกเบี้ยนโยบายไว้ในการประชุมครั้งนี้และให้เร่งรัดประสิทธิผลของมาตรการด้านการเงินและสินเชื่อที่ได้ประกาศไปแล้ว

ที่มา – ธนาคารแห่งประเทศไทย

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

Let's block ads! (Why?)



"เศรษฐกิจ" - Google News
June 07, 2020 at 08:00AM
https://ift.tt/2Y5L7Ag

แบงก์ชาติ: เศรษฐกิจไทยหดตัวมากกว่าคาด มีแนวโน้มความไม่แน่นอนสูง ว่างงานสูง - Brand Inside
"เศรษฐกิจ" - Google News
https://ift.tt/3crAsVL

No comments:

Post a Comment