Pages

Wednesday, September 9, 2020

เมื่อตลาดหุ้นสหรัฐ ไม่สะท้อนเศรษฐกิจที่แท้จริง - ประชาชาติธุรกิจ

kuyupkali.blogspot.com
ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ไม่สะท้อนเศรษฐกิจที่แท้จริง
ชีพจรเศรษฐกิจโลก
ไพรัตน์ พงศ์พานิชย์

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายนที่ผ่านมา ดัชนีหุ้นสหรัฐอเมริการ่วงลงแรงมาก หุ้นอุตสาหกรรมดาวโจนส์หายไป 2.7% ขณะที่ เอสแอนด์พี 500 ลงหนักกว่า 3.4% แต่ที่หนักที่สุดก็คือดัชนีหุ้นเทคโนโลยีแนสแดค ที่ร่วงลงเกือบ 5% ในวันเดียว

นั่นเป็นสภาพของตลาดหุ้นวอลล์สตรีต หลังจากที่เคยถีบตัวขึ้นแข็งแกร่งตลอดเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา และร้อนแรงจนถึงระดับทำสถิติใหม่กันเป็นว่าเล่น

แอปเปิล อิงก์. กลายเป็นบริษัทแรกในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกาที่มีมูลค่าตลาดสูงเกินกว่า 2 ล้านล้านดอลลาร์ ก็เกิดขึ้นในเดือนสิงหาคม

เพอร์ฟอร์แมนซ์ของตลาดหุ้นในเดือนสิงหาคมช่วยให้ “โดนัลด์ ทรัมป์” ประธานาธิบดีอเมริกัน สามารถหลับตาข้างหนึ่งลง ใช้อีกข้างจับไปที่ตัวเลขตลาดหุ้น แล้วบอกกับคนอเมริกันว่า “เห็นไหม เศรษฐกิจกำลังจะฟื้นตัวแล้ว”

ถ้าความร้อนแรงของตลาดหุ้นในเดือนสิงหาคมคือสัญญาณแสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจอเมริกันกำลังฟื้นตัวจากวิกฤตเศรษฐกิจ การร่วงลงอย่างหนักของดัชนีในต้นเดือนกันยายนคือสัญญาณแสดงถึงอะไรของเศรษฐกิจอเมริกัน

คำตอบของนักวิชาการและบรรดาผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายก็คือ ไม่ได้ส่งสัญญาณอะไรทั้งสิ้น

ข้อเท็จจริงในทัศนะของผู้สันทัดกรณีเหล่านี้ก็คือ ตลอดช่วงวิกฤตโควิด-19 ที่ผ่านมา มีเพียงช่วงมีนาคมเดือนเดียวเท่านั้น ที่ทิศทางของตลาดหุ้นอเมริกันสะท้อนถึงสภาวะสินเชื่อตึงตัวให้เห็น นับแต่นั้นเรื่อยมาตลาดหุ้นไม่เคยสะท้อนความเป็นจริงทางเศรษฐกิจของประเทศออกมาเลย

เศรษฐกิจที่แท้จริงของสหรัฐอเมริกา แม้ว่าจะกระเตื้องขึ้นมาบ้างหลังจากตกถึงจุดต่ำสุดเมื่อสองสามเดือนก่อนหน้านี้ แต่ก็ยังจัดเป็นการตกต่ำที่หนักหน่วง ลงลึก และเจ็บปวดกว่าที่เคยเกิดขึ้นหลังภาวะถดถอยจากวิกฤตการณ์ทางการเงินเมื่อปี 2008 มากมายนัก

นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ระดับรางวัลโนเบลอย่าง “พอล ครุกแมน” ย้ำมาตั้งแต่กลางเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาว่า ตลาดหุ้นอเมริกันไม่ได้เกี่ยวข้องเชื่อมโยงใด ๆ กับการว่างงานของคนอเมริกันเป็นนับล้าน หรือแม้แต่กระทั่งตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ใด ๆ ทั้งสิ้น

เหตุผลหนึ่งก็คือ ตลาดหุ้นสหรัฐในยามนี้ถูกผลักดัน ขับเคลื่อนด้วยบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่เพียงไม่กี่รายเท่านั้น แถมมูลค่าต่อบริษัทเหล่านี้ในตลาดหุ้นในเวลานี้ ไม่ได้แม้แต่จะสะท้อนจากผลกำไรในการประกอบการในยามนี้ของแต่ละบริษัทด้วยซ้ำไป

ครุกแมน ยกตัวอย่าง แอปเปิล อิงก์. ที่มีมูลค่าสูงถึง 2 ล้านล้านดอลลาร์ ชี้ให้เห็นว่าพี/อี เรโชของแอปเปิลอยู่ที่ 33 เท่า ซึ่งหมายความว่า นักลงทุนต้องลงทุน 33 ดอลลาร์ เพื่อให้ได้กำไร 1 ดอลลาร์ ใน 1 ปี

หรือมองอีกอย่างตามแนวทางของครุกแมนได้ว่า มีนักลงทุนเพียงแค่ราว 3% เท่านั้นที่ลงทุนในหุ้นแอปเปิลเพราะมองถึงความสามารถในการทำกำไรระยะสั้นเพียงปีเดียว

ส่วนที่เหลือเป็นการลงทุนเก็งกำไรในอีกหลายต่อหลายปีข้างหน้า คาดว่าแอปเปิลจะทำกำไรต่อ ๆ ไปและราคาหุ้นแอปเปิลจะทะยานต่อไปเรื่อย ๆ ในอนาคต ซึ่งจริงหรือไม่ก็ไม่รู้

สาเหตุที่สำคัญก็คือ คนเหล่านี้จำเป็นต้องใช้เงินในมือไปลงทุนในอะไรสักอย่าง ซึ่งในยามนี้ไม่มีอะไรเหมาะสมกว่าหุ้นเทคโนโลยีอีกแล้ว ในเมื่อผลตอบแทนจากพันธบัตรรัฐบาลก็อยู่ในระดับต่ำกว่าระดับอัตราเงินเฟ้อที่คาดหวังอีกด้วย

ที่น่าคิดก็คือ ครุกแมนบอกว่า มูลค่าตลาดของแอปเปิลนั้น ยังไม่ “เอ็กซ์ตรีม” เท่ากับมูลค่าของบริษัท “อเมซอน” หรือ “เน็ตฟลิกซ์” ในตลาดในตอนนี้ด้วยซ้ำไป

หุ้นของบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่เหล่านี้ถูกผลักดันให้สูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยนักลงทุนที่คาดหวังว่า บริษัทเหล่านี้จะ “ทำได้ดี” ในระยะยาว โดยไม่ใส่ใจปัญหาระยะสั้นที่เกิดขึ้น ภาวะเศรษฐกิจถดถอยหรือตกต่ำ ไม่มีความสำคัญใด ๆ ทั้งสิ้น สภาพเช่นนี้จะสิ้นสุดลงเมื่อใด ? และอย่างไร ?

ผู้รู้บอกว่า สภาพเช่นนี้จะสิ้นสุดก็ต่อเมื่อบรรดานักลงทุนได้ตระหนักในข้อเท็จจริงของพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ที่บอกพวกเขาได้ว่า สิ่งที่คาดหวังไว้นั้่น จะไม่เกิดขึ้น

นักวิเคราะห์บางคนเชื่อว่า สภาพที่ตลาดหุ้นร่วงลงอย่างหนักเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา คือตัวอย่างของสถานการณ์ที่ว่านั้น

“แพทริค โอแฮร์” นักวิเคราะห์ประจำบรีฟฟิงดอทคอม เขียนบทวิเคราะห์เผยแพร่ออกมาก่อนหน้าที่ตลาดหุ้นจะร่วงลงอย่างหนัก เตือนไว้ว่า สารพันปัญหาที่น่าวิตกในเวลานี้ ตั้งแต่ปัญหาโควิด-19, การเลือกตั้ง, ความตึงเครียดกับจีน รวมถึงสภาวะ “หน้าผาการคลัง” กำลังทำให้ตลาดพลิกผันไปในทางตรงกันข้าม “เลิกล้อเล่นกับตัวเองเสียที”

ขณะที่ “ควินซี ครอสบี” หัวหน้าทีมยุทธศาสตร์ของพรูเดนเชียล ไฟแนนเชียล เชื่อว่าภาวะรูดลงดังกล่าวเกิดจากปัญหานักลงทุนแห่กันเข้าไปซื้อหุ้นกัน “มากจนเกินไป” ในช่วงที่ผ่านมา

อีกหลายคนชี้ให้เห็นข้อเท็จจริงว่า อะไร ๆ ที่มันถูกดันขึ้นไปอย่างไร้เหตุผล ก็ต้องร่วงลงมามากแบบไร้เหตุผลเช่นเดียวกัน

หุ้นที่ร่วงลงหนักและเป็นตัวฉุดตลาดในครั้งนี้ก็คือ แอปเปิล อิงก์. ที่หายไปมากถึง 6.6%, อเมซอน 5.2% และไมโครซอฟท์ 5.6%

การกระหน่ำกันเทขายครั้งนี้ เกิดขึ้นหลังจากมีการเผยแพร่ข้อมูลทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาหลายตัวออกมา แสดงให้เห็นว่า ภาคบริการขยายตัวช้ากว่าที่คาดในเดือนสิงหาคม, ตัวเลขการปรับลดตำแหน่งงานในปีนี้จะสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ตัวเลขขาดดุลการค้าของสหรัฐอเมริกากลับมาขยายตัวสูงเกินคาดอีกครั้ง

อัตราว่างงานยังคงอยู่ในระดับสูงมากเป็นพิเศษ อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาในไตรมาสที่สองเป็นการขยายตัวติดลบมากที่สุดในประวัติศาสตร์

ข้อมูลเหล่านี้ล้วนแสดงให้เห็นว่า การคาดการณ์ว่าบรรดาบริษัทอเมริกันทั้งหลายจะกลับมาทำกำไรเป็นล่ำเป็นสันกันในปีหน้านั้น

ห่างไกลความเป็นจริงเหลือเกิน

Let's block ads! (Why?)



"เศรษฐกิจ" - Google News
September 10, 2020 at 11:33AM
https://ift.tt/2Ffaday

เมื่อตลาดหุ้นสหรัฐ ไม่สะท้อนเศรษฐกิจที่แท้จริง - ประชาชาติธุรกิจ
"เศรษฐกิจ" - Google News
https://ift.tt/3crAsVL

No comments:

Post a Comment