Pages

Sunday, August 23, 2020

ทำความรู้จัก '10 ชาติเศรษฐกิจ' คุมความมั่งคั่งโลก - thebangkokinsight.com

kuyupkali.blogspot.com

เศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ทั่วโลก ล้วนแต่ต้องเผชิญกับวัฏจักรขาขึ้น และลงแตกต่างกันออกไป แต่ก็ยังมีความน่าสนใจอยู่ว่า บรรดาประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่สุดนั้น สามารถรักษาตำแหน่งตัวเองเอาไว้ โดยที่ไม่ถูกโค่นลงไปได้ง่ายๆ

ประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่แต่ละราย ล้วนแต่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก โดยมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของ 10 ประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่สุดของโลกนั้น คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 66% ของมูลค่าจีดีพีโลก

มาดูกันว่า 10 ชาติใหญ่เหล่านี้ มีประเทศอะไรกันบ้าง ที่กำลังควบคุมความมั่งคั่งส่วนใหญ่ของโลกไว้ในมือ

สหรัฐ

สหรัฐครองตำแหน่ง ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่สุดของโลกมาตั้งแต่ปี 2414 โดยเมื่อปี 2562 เศรษฐกิจสหรัฐมีมูลค่ากว่า 21 ล้านล้านดอลลาร์ และคาดว่าจะขยายตัวถึง 22.32 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2563

เศรษฐกิจสหรัฐคิดเป็นสัดส่วนราว 20% ของผลิตผลโลก และยังคงมีขนาดใหญ่กว่าจีนอย่างมาก โดยภาคบริการ ที่พัฒนาไปอย่างมาก และภาคเทคโนโลยี ที่ซับซ้อน คิดเป็นสัดส่วนราว 80% ของผลผลิตเศรษฐกิจในประเทศทั้งหมด ส่งผลให้บริษัทขนาดใหญ่สุด และบริษัทที่มีบทบาทสำคัญบนเวทีโลก ในด้านการนำเสนอบริการต่างๆ ทั้ง ค้าปลีกเทคโนโลยี การเงิน และดูแลสุขภาพ มักจะมาจากแดนอเมริกัน

จีน

ในช่วงไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจจีนขยายตัวอย่างเฟื่องฟูมาก หลังจากการทลายกำแพงต่างๆ ของเศรษฐกิจแบบปิด และพัฒนาจนกลายมาเป็นศูนย์กลางการผลิต และส่งออกของโลก

จีนมักถูกเรียกขานว่า “โรงงานโลก” เนื่องจากเป็นฐานการผลิต และการส่งออกขนาดมหึมา แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ภาคบริการเริ่มมีบทบาทเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และการผลิต ที่ข่วยสร้างจีดีพี ลดลงมากพอสมควร

เมื่อปี 2523 จีนเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 7 ของโลก มีมูลค่าจีดีพีอยู่ที่ 305,350 ล้านดอลลาร์ เทียบกับสหรัฐ ที่ในขณะนั้น มีมูลค่าจีดีพีอยู่ที่ 2.86 ล้านล้านดอลลาร์

แต่เมื่อจีนเริ่มปฏิรูปตลาดในปี 2521 เศรษฐกิจของยักษ์ใหญ่เอเชียรายนี้ก็อัตราการเติบโตโดยเฉลี่ย 10% ต่อปี และแม้ว่า ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจจีนจะมีอัตราการเติบโตชะลอตัวลง แต่ก็ยังถือว่าสูงอยู่ เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ โดยเมื่อปีที่แล้ว จีนมีมูลค่าจีดีพีอยู่ที่ 9.2 ล้านล้านดอลลาร์

ญี่ปุ่น

ญี่ปุ่น เป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก ด้วยมูลค่าจีดีพีในปี 2562 ที่ 5.2 ล้านล้านดอลลาร์ โดยในช่วงทศวรรษ 60, 70 และ 80 เศรษฐกิจญี่ปุ่นเติบโตรวดเร็วมาก

วิกฤติการเงินปี 2551 ทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นสั่นคลอนอย่างหนัก และทำให้เกิดช่วงเวลาอันท้าทายสำหรับเศรษฐกิจตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยวิกฤติการเงินโลกทำให้เกิดภาวะถดถอย ตามมาด้วย ความต้องการในประเทศที่อ่อนแอ และหนี้สาธารณะก้อนโต

เมื่อเศรษฐกิจเริ่มที่จะฟื้นตัว ญี่ปุ่นก็ต้องรับมือกับการเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ที่ส่งผลกระทบทั้งด้านสังคม และเศรษฐกิจ  ในเวลาต่อมา เมื่อสามารถจัดการกับภาวะเงินฝืดที่เกาะติดประเทศมาเป็นเวลานานได้แล้ว แต่การขยายตัวทางเศรษฐกิจก็ยังหยุดนิ่ง

เยอรมนี

นอกจากจะมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่สุดในยุโรปแล้ว เศรษฐกิจเยอรมนี ยังแข็งแกร่งที่สุดในภูมิภาคนี้ด้วย โดยในระดับโลกนั้น เยอรมนี มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับสี่ ในแง่ของจีดีพี ที่ 4 ล้านล้านดอลลาร์

เยอรมนี พึ่งพาการส่งออกสินค้าทุนเป็นหลัก และต้องประสบกับภาวะถดถอยในการส่งออก หลังวิกฤติการเงินโลกปี 2551 ทำให้เศรษฐกิจขยายตัวเพียง 2.2% และ 2.5% ในปี 2559 และ 2560 ตามลำดับ

ในความพยายามที่จะเสริมสร้างความแข็งแกร่งด้านการผลิต ในสถานการณ์โลกยุคปัจจุบันนี้ เยอรมนีได้ประกาศนโยบาย “อุตสาหกรรม 4.0” การริเริ่มเชิงกลยุทธ์ เพื่อสร้างประเทศ ให้เป็นผู้นำตลาด และเป็นผู้จัดหาบริการโซลูชั่นการผลิตขั้นสูง

อินเดีย

อินเดียเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดล้านล้านดอลลาร์ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก โดยเมื่อปี 2562 อินเดียแซงหน้า สหราชอาณาจักร และฝรั่งเศส ก้าวขึ้นมาเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 5 ของโลก ด้วยมูลค่าจีดีพีที่ 2.94 ล้านล้าน

เมื่อปี 2523 เศรษฐกิจอินเดียมีมูลค่าเพียง 189,438 ล้านดอลลาร์ อยู่ในอันดับที่ 13 ของโลก โดยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ภาคการผลิต และบริการ ขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง จนปัจจุบัน อินเดียกลายมาเป็นประเทศที่มีธุรกิจบริการเติบโตเร็วสุดในโลก คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 60% ของเศรษฐกิจประเทศ และคิดเป็นสัดส่วน 28% ของการจ้างงานทั่วประเทศ

นอกจากนี้ ภาคการผลิต ก็ยังเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมสำคัญของประเทศ ที่รัฐกำลังผลักดันอย่างหนัก ผ่านการริเริ่มต่างๆ อาทิ “Make in India”  ขณะที่ภาคการเกษตรนั้น แม้จะมีสัดส่วนในจีดีพีลดลงมาอยู่ที่ราว 17% แต่ก็ยังถือว่าอยู่ในระดับสูง เมื่อเทียบกับชาติตะวันตก

จุดแข็งของเศรษฐกิจอินเดีย อยู่ที่การพึ่งพาการส่งออกอย่างจำกัด อัตราการออมเงินในประเทศสูง และชนชั้นกลางที่กำลังขยายตัวมากขึ้น

สหราชอาณาจักร

มูลค่าจีดีพีที่ 2.83 ล้านล้านดอลลาร์ ทำให้สหราชอาณาจักรมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 6 ของโลก  ซึ่งแม้เศรษฐกิจจะแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มขาขึ้นอย่างต่อเนื่องในแต่ละไตรมาส มาตั้งแต่ปี 2535 จนถึง 2551

แต่ตั้งแต่เดือนเมษายน 2551 เศรษฐกิจของสหราชอาณาจักก็ลดลงอย่างต่อเนื่องถึง 5 ไตรมาสติดต่อกัน และต้องใช้เวลานานถึง 5 ปี กว่าที่จะฟื้นตัวขึ้นไปอยู่ในระดับก่อนหน้าที่จะเจอภาวะเศรษฐกิจถดถอย

เศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรขับเคลื่อนโดยภาคบริการเป็นหลัก คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 75% ของจีดีพี ขณะที่ภาคการผลิต เป็นตัวขับเคลื่อนรองลงมา ตามด้วยภาคการเกษตร


ฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส ประเทศที่มีผู้เดินทางไปเยือนมากสุดในโลก มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของยุโรป และใหญ่สุดเป็นอันดับ 7 ของโลก ด้วยมูลค่าจีดีพีที่ 2.78 ล้านล้านดอลลาร์

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจฝรั่งเศสชะลอการเติบโตลงมา ผลจากอัตราการว่างงานที่พุ่งสูงขึ้น กดดันให้รัฐบาลต้องจัดหามาตรการต่างๆ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง

นอกจากการท่องเที่ยว ที่เป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญอย่างมากสำหรับเศรษฐกิจแล้ว ฝรั่งเศสยังเป็นผู้นำในการเกษตร มีพื้นที่เพาะปลูกโดยรวมคิดเป็น 1 ใน 3 ของพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมดในยุโรป และเป็นผู้ส่งออกสินค้าเกษตรรายใหญ่สุดอันดับ 2 ของโลก รองจากสหรัฐ

ภาคการผลิต ก็เป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจประเทศ ครอบคลุมถึง อุตสาหกรรมเคมี รถยนต์ และกลาโหม

อิตาลี

ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 8 ของโลก ด้วยมูลค่าจีดีพีที่ 2.07 ล้านล้านดอลลาร์ โดยในช่วงไม่กี่ปีมานี้ อิตาลีต้องเผชิญกับความวุ่นวายอย่างหนักทั้งด้านการเมือง และเศรษฐกิจ อัตราว่างงานยังคงทะยานขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยตัวเลขสองหลัก

ขณะที่หนี้สาธารณะก็ยังทรงตัวในระดับสูงถึง 132% ของจีดีพี

อย่างไรก็ดี การส่งออก และการลงทุนทางธุรกิจ ยังคงเป็นตัวขับเคลื่อนหลักที่ทำให้เกิดการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจขึ้นมา

บราซิล

บราซิล เป็นประเทศที่ประชากรมากสุด และมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่สุดของลาตินอเมริกา และด้วยมูลค่าจีดีพีที่ 1.87 ล้านล้านดอลลาร์ ทำให้บราซิล มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 9 ของโลก

ก่อนที่จะเกิดวิกฤติการเงินโลกปี 2551 นั้น เศรษฐกิจบราซิลขยายตัวในระดับ 3.4% มาอย่างต่อเนื่อง และหลังจากหดตัวไปในระยะสั้นๆ เมื่อปี 2552 เศรษฐกิจบราซิล ก็ฟื้นตัวขึ้นมาในปี 2553 ด้วยการเติบโตที่สูงเป็นประวัติการณ์ถึง 7.5%

กระนั้นก็ตาม ปัญหาภายในประเทศ อย่างการคอร์รัปชัน และภาวะไร้เสถียรภาพทางการเมือง ที่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมด้านการลงทุน และการทำธุรกิจ ยังคงสร้างแรงกดดันต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจท้องถิ่นอยู่


แคนาดา

แคนาดา แซงหน้ารัสเซีย ขึ้นมาเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่สุดอันดับ 10 ของโลก เมื่อปี 2558 โดยมีมูลค่าจีดีพีล่าสุดอยู่ที่ 1.71 ล้านล้านดอลลาร์ และคาดว่า จะขยายตัวถึง 2.13 ล้านล้านดอลลาร์ ภายในปี 2566

แคนาดา ประสบความสำเร็จใจการควบคุมอัตราการว่างงาน ที่มีแนวโน้มว่าจะลดลงไปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งภาคบริการ ถือเป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศ แต่ภาคการผลิต ก็เป็นรากฐานที่สำคัญของประเทศ และมีความสำคัญต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในอนาคต

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Add Friend Follow

Let's block ads! (Why?)



"เศรษฐกิจ" - Google News
August 24, 2020 at 07:26AM
https://ift.tt/3aSRLzG

ทำความรู้จัก '10 ชาติเศรษฐกิจ' คุมความมั่งคั่งโลก - thebangkokinsight.com
"เศรษฐกิจ" - Google News
https://ift.tt/3crAsVL

No comments:

Post a Comment