Pages

Wednesday, July 8, 2020

เศรษฐกิจชะลอ ดันหนี้ครัวเรือนสูงสุดรอบ 18 ปี - ฐานเศรษฐกิจ

kuyupkali.blogspot.com

แนวโน้มหนี้ครัวเรือนทะยานสูงต่อเนื่องตามเศรษฐกิจชะลอตัวแรง กสิกรไทยคาดสิ้นปีสูงลิ่ว 88-90% สูงสุดในรอบ 18 ปี หลังไตรมาสแรก ขึ้นมาถึง 79.9% สูงสุดในรอบ 4 ปี โจทย์ใหญ่ประเทศสะท้อนกำลังซื้อเปราะบาง ลางร้ายเศรษฐกิจ

รายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)พบว่า ยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนสุทธิ ณ ไตรมาส 1/25563 มีจำนวน 13.48 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.9 แสนล้านบาทหรือเพิ่มขึ้น 3.92% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มียอดคงค้างสุทธิ 12.97 ล้านล้านบาท แต่ลดลง 3,562 ล้านบาทเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2562 ที่มียอดคงค้าง 13.48 ล้านล้านบาท ส่วนหนึ่งเป็นผลจากมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพียังมีแนวโน้มสูงต่อเนื่องในช่วงที่เหลือของปี 2563 เพราะเศรษฐกิจไทยชะลอตัวลงแรง แม้ตัวเลขหนี้ครัวเรือนจะลดลงเล็กน้อยในไตรมาสแรก แต่ก็ยังไม่ชัดเท่ากับภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงมากกว่า ทำให้เมื่อเปรียบเทียบแล้ว หนี้ครัวเรือนต่อจีดีพียังขยับขึ้นจาก 79.9% ในไตรมาส 4/2562 มาที่ 80.1% ในไตรมาส 1/2563 สูงสุดในรอบ 4 ปี

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์หนี้ที่ปรับสูงขึ้นหรือทรงตัวในระดับสูงต่อเนื่องเป็นปัญหาที่หลายๆ ประเทศในเอเชียกำลังเผชิญอยู่ด้วยเช่นเดียวกัน อาทิ เกาหลีใต้ นิวซีแลนด์ มาเลเซีย ฮ่องกง ญี่ปุ่น และจีน

“ผลกระทบจากโควิด-19 ซ้ำเติม ทำให้ประเด็นหนี้ครัวเรือนที่เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างอยู่แล้วมีความเปราะบางมากขึ้น โดยเฉพาะในสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีที่เพิ่มขึ้นแตะระดับ 80.1% ในไตรมาส 1/2563 ที่ผ่านมา สะท้อนว่า ภาคครัวเรือนกำลังรับมือกับปัญหาการหดตัวของรายได้ ซึ่งเร็วกว่าการชะลอตัวของการกู้ยืม”

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมีมุมมองต่อสถานการณ์หนี้ครัวเรือนยังคงอยู่ในระดับสูง และยังเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่ต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง เพราะยังคงเห็นการก่อหนี้ก้อนใหญ่ ทั้งเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยและเช่าซื้อรถยนต์เพิ่มขึ้นตามแคมเปญที่ผู้ประกอบการผลักดันออกมาเพื่อประคองตลาด สวนทางสัญญาณอ่อนแอของกำลังซื้อภาคครัวเรือนและกิจกรรมทางเศรษฐกิจในหลายๆ ส่วน ขณะที่การก่อหนี้เพื่อใช้ในการประกอบธุรกิจที่ขยับสูงขึ้นก็เป็นทิศทางที่ตอกย้ำว่า ผู้ประกอบการรายเล็กๆ อาจเริ่มเผชิญปัญหาการขาดสภาพคล่องมาตั้งแต่ในช่วงไตรมาสแรกที่เศรษฐกิจชะลอตัว ก่อนหน้าที่จะมีผลกระทบจากโควิด-19 มาซ้ำเติมอีกระลอก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดหนี้ครัวเรือนสิ้นปีจ่อแตะ 90% สูงสุดรอบ 18 ปี

สึนามิหนี้ครัวเรือน (1)

สึนามิหนี้ครัวเรือน (2)


ทั้งนี้คาดว่า สัดส่วนหนี้ต่อจีดีพีของไทยอาจขยับสูงขึ้นไปอยู่ในกรอบ 88-90% ต่อจีดีพี ณ สิ้นปี 2563 ซึ่งนับเป็นระดับสูงที่สุดในรอบ 18 ปี (ข้อมูลธปท. ย้อนหลังถึงปี 2546) เนื่องจากเศรษฐกิจที่หดตัวลงแรง ขณะที่สัญญาณช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยของสถาบันการเงิน ทั้งการลดภาระผ่อนต่อเดือนและการพักชำระหนี้ เพื่อลดภาระทางการเงินให้กับลูกหนี้ น่าจะมีผลทำให้ยอดหนี้คงค้างของครัวเรือนและลูกค้ารายย่อยไม่ปรับลดลงตามแนวโน้มเศรษฐกิจ ซึ่งจากข้อมูลของธปท. ณ วันที่ 15 มิถุนายน 2563 พบว่า มีลูกหนี้รายย่อยได้รับความช่วยเหลือแล้วเป็นจำนวน 11.48 ล้านราย มูลหนี้รวม 3.8 ล้านล้านบาท

อย่างไรก็ตาม ต้องจับตา ผลกระทบทางเศรษฐกิจที่มีต่อกระแสรายได้ และความสามารถในการชำระคืนหนี้ โดยเฉพาะกลุ่มรายย่อยที่ไม่ได้มีรายได้ประจำ(อาชีพอิสระ) กลุ่มลูกหนี้บุคคล ซึ่งเดิมมีปัญหาฐานะทางการเงินที่เปราะบาง และกลุ่มที่ถูกปรับลดชั่วโมงการทำงาน ซึ่งย่อมจะมีผลทำให้สัดส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPLs) ในพอร์ตสินเชื่อรายย่อยของระบบธนาคารพาณิชย์มีโอกาสอาจขยับสูงขึ้นกว่าระดับ 3.23% ในไตรมาส 1/2563 ขณะที่การต่ออายุมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อย และมาตรการพักหนี้ของสถาบันการเงิน จำนวนคนเข้าร่วมโครงการ และตัวแปรอื่นๆทำให้ยากที่จะประเมินตัวเลข NPLs และธนาคารพาณิชย์กำลังเผชิญในหลายๆ ไตรมาสข้างหน้า

ทั้งนี้ จากผลการศึกษาของธนาคารโลกพบว่า วิกฤติโควิด-19 จะทำให้ประชากรทั่วโลยากจนขั้นสุด (Extreme Poverty) มากขึ้นระหว่าง 40-60 ล้านคน และกรณีสถานการณ์เลวร้ายรุนแรงอาจทำให้ประชากรโลกถึง 100 ล้านคนตกอยู่ในสถานะยากจนขั้นสุด

หน้า 1 ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,590 วันที่ 9 - 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2563


Let's block ads! (Why?)



"เศรษฐกิจ" - Google News
July 09, 2020 at 07:05AM
https://ift.tt/31WyLOm

เศรษฐกิจชะลอ ดันหนี้ครัวเรือนสูงสุดรอบ 18 ปี - ฐานเศรษฐกิจ
"เศรษฐกิจ" - Google News
https://ift.tt/3crAsVL

No comments:

Post a Comment