Pages

Sunday, June 7, 2020

ระงมเศรษฐกิจครึ่งปีหลังยังไม่ฟื้น - ฐานเศรษฐกิจ

kuyupkali.blogspot.com

คอลัมน์ : Let  Me Think
โดย      :งามตา สืบเชื้อวงค์

ผ่านมาเกือบ 5 เดือนที่โลกต้องเผชิญกับความจริง  มหันตภัยร้ายไวรัสโควิด-19  ตามข้อมูล ณ 7 มิ.ย.2563 มีจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทั่วโลก อยู่ที่ 6,949,588 ราย ส่วนจำนวนผู้เสียชีวิตจากทั่วโลก อยู่ที่ 401,061 ราย รักษาหาย 3,402,661 ราย ในจำนวนนี้สหรัฐฯซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย มีผู้ติดเชื้อสะสมมากที่สุดกำลังไต่ระดับไปที่ 2 ล้านรายแล้วในขณะนี้ นับว่าสูงที่สุดในโลก

สำหรับประเทศไทยถึงแม้จำนวนผู้ติดเชื้อจะอยู่ในระดับต่ำและควบคุมสถานการณ์ได้ดีกว่าหลายประเทศ แต่ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากวิกฤติโควิด-19 ไม่ได้แตกต่างกัน อยู่ในภาวะที่ระส่ำไปทั้งระบบ

เนื่องจากไทยพึ่งพาภาคท่องเที่ยวสูงกว่าหลายประเทศ โดยในปีล่าสุดรายได้จากการท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวต่างชาติคิดเป็นสัดส่วนถึง 12% ของจีดีพีไทย และเป็นกลุ่มที่มีแรงงานตกงานจำนวนมากในขณะนี้ ในขณะที่การพึ่งพาการส่งออกไปยังประเทศหลักอย่างจีนกับสหรัฐฯในสัดส่วนสูง11-12%  มาเจอพิษโควิด-19 หนักหน่วง  คาดว่ากว่าการส่งออกจะกลับไปสู่ภาวะปกติได้คงต้องใช้เวลาอีกนานหลายเดือน

เวลานี้ประเมินน้ำเสียงจากภาคเอกชนหลายกลุ่มแล้วฟันธงได้ว่า ภาพรวมเศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลังยังไม่โงหัว  และทำได้เต็มที่ก็คือกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ ให้หมุนเวียนกันเองในประเทศ ประคองตัวไปก่อน​   

หันไปมองภาคธุรกิจก็เหนื่อยแสนสาหัส เพราะหลายบริษัททั้ง “นายจ้าง” และ “ลูกจ้าง”ยังไม่รู้จะไปทิศทางไหน ยังต้องจับตาสาขาไหนที่พึ่งพาตลาดส่งออกจากหยอดน้ำเกลือ ในครึ่งปีหลังนี้บางรายทำท่าอาจต้องขึ้นเมรุ เพราะเริ่มมีอุตสาหกรรมบางกลุ่มออกมาประกาศปิดกิจการ

ล่าสุดสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ออกมาประกาศชัด ว่าพิษไวรัส โควิด-19 ส่งผลทำให้โรงงานด้านสิ่งทอในประเทศจ่อปิดกิจการประมาณ 10% ภายในปีนี้ หรือประมาณ 100 โรงงานจากทั้งหมด 4,000 โรงงาน หลังจากส่งออกสิ่งทอเดือนเมษายนติดลบไปมากกว่า 50% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา 

บางรายจากหยุดจ้างชั่วคราว อาจจะกลายเป็นเลิกจ้างได้ ในเมื่อส่งออกยังไม่มีออเดอร์  กำลังซื้อในประเทศก็ยังไม่กลับมา  จะมีก็เพียงกลุ่มสินค้าพื้นฐานที่มีความจำเป็น ยังขายได้แต่ต้องในระดับราคาที่ไม่สูง แม้จะมีบางธุรกิจสามารถกลับมาทำได้ในช่วงเวลาหลังล็อกดาวน์  แต่ก็ยังไม่คึกคักเท่าที่ควรเพราะยังต้องมีมาตรการป้องกันระมัดระวังทำให้บริการต่างๆทำได้ไม่เต็มที่​ คนยังขาดรายได้บางธุรกิจยังต้องรอการรีเซ็ตจะกลับมาใหม่ได้ จะต้องใช้เวลาเป็นปี

นอกจากนี้กำลังเป็นที่จับตาว่า เรากำลังถูกซ้ำเติมอีกดอกหรือไม่ เพราะทันทีที่สภาฯมีมติผ่านพ.ร.ก.3 ฉบับกู้เงิน 1.9 ล้านล้านบาท เพื่อใช้รับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19ได้เงินมาแก้ปัญหาเศรษฐกิจ  แทนที่รัฐบาล(ทีมเศรษฐกิจ)จะมีสมาธิเร่งเครื่องเดินแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจได้ทันที ก็เริ่มเกิดความไม่เป็นเอกภาพขึ้นในรัฐบาล เมื่อมีข่าวแย่งเก้าอี้ ข่าวจะปรับครม. เข้ามาบั่นทอนอยู่เป็นระยะ

ถ้าแบบนี้จะยิ่งซ้ำเติมทำให้แผนกระตุ้นเศรษฐกิจในครึ่งปีหลังเป็นต้นไปอาจชะงักได้  เงินกระตุ้นเศรษฐกิจลงระบบยิ่งล่าช้า ก็จะสร้างความสับสนและสร้างความไม่มั่นใจให้กับภาคประชาชน ภาคธุรกิจและนักลงทุนต่างชาติ ที่ไม่เชื่อมั่นต่อประเทศไทยได้ โดยเฉพาะในยามที่เรากำลังถูกจับตามองถึงความน่าลงทุน  ในระหว่างที่นักลงทุนต่างชาติกำลังทบทวนแผนการย้ายฐานการผลิตมาไทยหรือควรไปเวียดนามดี หลังจากที่ ทั้ง 2 ประเทศสร้างปรากฏการณ์รับมือไวรัสร้ายได้ดีในลำดับต้นๆของโลก

อย่างไรก็ตามครึ่งปีหลังนี้ทุกประเทศทั่วโลกต่างใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยใช้เงินจำนวนมากเข้ามาฟื้นฟูประเทศตัวเอง สำหรับประเทศไทยพ.ร.ก.กู้เงิน 1.9 ล้านล้านบาท คิดเป็น12-13%ของจีดีพีประเทศ ถือเป็นความหวังเดียวในขณะนี้  โดยเฉพาะการใช้งบฟื้นฟูผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเป็นหลักก่อน เพราะถือเป็นผู้ประกอบการส่วนใหญ่ของประเทศที่มีสัดส่วนมาก 80-90% ซึ่งภาคเอกชนและคนไทยก็อยากเห็นรัฐบาลเร่งแก้ปัญหาได้ตรงจุดและคาดว่าเงินจะสามารถลงระบบได้ในช่วงปลายเดือนมิถุนายนหรือต้นเดือนกรกฏาคมนี้

ต่างก็รอคอยว่าเงินที่จะลงมาฟื้นฟูเศรษฐกิจหนนี้จะพยุงเศรษฐกิจได้ สร้างกำลังซื้อได้ อย่างน้อยไตรมาส 4 ปีนี้ถ้าเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัว ก็ขอให้เริ่มคลี่คลายได้ในระดับหนึ่งก่อน  เมื่อประชาชนเริ่มเดินทางมากขึ้น  การบริโภคภายในประเทศขยับได้ เกิดจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น

จึงได้แต่ภาวนาว่าขออย่าให้เกิดการคอรัปชั่นหรือเกิดเหตุทุจริตจากเค้กก้อนเดียวที่เป็นความหวังของคนทั้งประเทศในเวลานี้เลย


Let's block ads! (Why?)



"เศรษฐกิจ" - Google News
June 07, 2020 at 10:18AM
https://ift.tt/3dGSPHL

ระงมเศรษฐกิจครึ่งปีหลังยังไม่ฟื้น - ฐานเศรษฐกิจ
"เศรษฐกิจ" - Google News
https://ift.tt/3crAsVL

No comments:

Post a Comment